รากฟันเทียม

Table of Contents

รากฟันเทียมคืออะไร

รากฟันเทียม (Dental Implant) คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ทดแทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น การมีฟันผุ แตก หัก รากฟันเทียมทำมาจากวัสดุโลหะ ไทเทเทียม (Titanium) รูปร่างคล้ายสกรูโดยออกแบบให้พื้นผิวนั้นสามารถยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี ซึ่งจะทำหน้าที่คอยรับแรงจากการบดเคี้ยวอาหารทดแทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป และคอยรองรับ ครอบฟัน ฟันปลอม หรือ สะพานฟันที่อยู่ด้านบนรากเทียม
โดยทั่วไป การทดแทนฟันธรรมชาติ สามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่ การใส่ฟันปลอม การทำสะพานฟัน ร่วมถึง การใส่รากฟันเทียม แต่โดยทั่วไป การใส่รากฟันเทียม ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการทดแทนฟันธรรมชาติ

การทำงานของรากฟันเทียม

รากฟันเทียมทำหน้าที่เลียนแบบ รากฟันธรรมชาติของเรา และ คอยรองรับครอบฟัน ฟันปลอม หรือ สะพานฟัน ที่อยู่ด้านบนรากฟันเทียม ซึ่งการที่รากฟันเทียมจะทำหน้าที่นั้น จะได้หลังจากที่กระดูกของเราค่อยๆเข้ามาเชื่อมกับรากฟันเทียม โดยทั่วไปมักใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน เทคโนโลยีปัจจุบันยังมีการเคลือบสารพิเศษที่คอยเร่งกระบวนการเชื่อมของกระดูกเข้ากับรากฟันเทียม ซึ่งมีในแบรนด์รากเทียมต่าง ๆ เพื่อให้การฝังรากเป็นไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด

ใครบ้างที่ควรใส่รากฟันเทียม

หากคุณเป็นคนที่มีการสูญเสียฟันธรรมชาติไป เช่น การถอนฟันจากฟันผุ แตก หรือ การเกิดอุบัติเหตุ ควรเข้ารับการใส่รากฟันเทียมเพื่อป้องกันภาวะ กระดูกละลาย ฟันล้ม ฟันสบผิดปกติ ซึ่งทำให้การรักษานั้น มีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นตาม

ฟันผุ

ฟันแตก

อุบัติเหตุ

ปัจจัยใดบ้างที่ไม่เหมาะกับการใส่รากฟันเทียม

  1.  มีการอักเสบหรือติดเชื้อในบริเวณที่ต้องการใส่รากฟันเทียม หากมีภาวะดังกล่าว ทันตแพทย์จะทำการกำจัดเชื้อและควบคุมอาการอักเสบให้คงที่ก่อนทำการรักษาต่อ
  2. สุขภาพช่องปากไม่เหมาะสม เช่น การทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ดีเพียงพอ การมีหินปูนจำนวนมาก หรือ การเป็นโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งมีผลกับกระบวนการยึดติดรากเทียมกับเข้ากับกระดูก
  3. โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่ส่งผลต่อกระบวนการหายของแผล โรคกระดูกพรุน หากยังไม่สามารถควบคุมภาวะดังกล่าวได้ อาจส่งผลให้ความสำเร็จในการใส่รากฟันเทียมลดลง
  4. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาสำหรับภาะวะกระดูกพรุน ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลิือด เช่น แอสไพริน, วาฟาริน ทั้งนี้ การรับประทานยาดังกล่าว ทันตแพทย์จำเป็นต้องปรึกษากับแพทย์ประจำตัวคนไข้ก่อนเพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และ ปลอดภัยที่สุด
  5. การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในช่องปาก ส่งผลให้กระบวนการหายของแผล และ การยึดติดของรากเทียม ลดลง

เมื่อสูญเสียฟันธรรมชาติ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

  1. ฟันล้มเข้าสู่ช่องว่าง ฟันสบผิดปกติ ตามธรรมชาติแล้วเมื่อมีช่องว่างเกิดขึ้น ฟันข้างเตียงมักจะล้มเข้าสู่ช่องว่างเสมอ จะก่อให้เกิดภาวะการสบฟันผิดปกติ ฟันเก
  2. กระดูกบริเวณช่องว่างละลาย แรงที่กระทำกับกระดูกขากรรไกรในที่นี้ คือ แรงบดเคี้ยว เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่ เมื่อฟันบริเวณนั้นหายไป กระบวนการกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ก็จะหายไปด้วย ทำให้กระดูกบริเวณดังกล่าวมีมวลที่ลดลง
  3. ปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ ทำความสะอาดยากขึ้น เหงือกอักเสบ ปริทันต์อักเสบ ฯลฯ
  4. การพูดออกเสียง กระบวนการออกเสียง มีฟันเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในการออกเสียง หากเกิดการสูญเสียฟันแล้ว จะทำให้การออกเสียงบางคำไม่ชัด
  5. ความงามและความมั่นใจลดลง การยิ้มแล้วเห็นฟันไม่ครบ โดยเฉพาะบริเวณฟันหน้า อาจมีผลต่อบุคลิกภาพ ทำให้ไม่กล้ายิ้ม สูญเสียความมั่นนใจ

รากฟันเทียม ช่วยแก้ไขอะไรได้บ้าง

ยิ้มและหัวเราะอย่างมั่นใจ

เนื่องจากเป็นฟันติดแน่น ไม่ต้องใช้กาวฟันปลอม ไม่ต้องกังวลฟันปลอมจะหลุด

ทานอาหารอร่อยขึ้น

รากฟันเทียมให้แรงบดเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุด

พูดชัดขึ้น

รากฟันเทียมมีลักษณะเหมือนรากฟันธรรมชาติ และ ฟันที่ใส่ทดแทนก็ยึดติดแน่น ทำให้พูดชัดมากขึ้น

สะดวก

ไม่ต้องถอดออก ทำความสะอาดได้เหมือนฟันธรรมชาติ

ส่วนประกอบของรากฟันเทียม

รากฟันเทียมประกอบไปด้วย 3 ส่วนได้แก่

  1. รากฟันเทียม (Fixture)
    เป็นส่วนที่จะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ทำหน้าที่ทดแทนรากฟันธรรมชาติ
  2. หมุดยึด (Abutment)
    เป็นส่วนประกอบที่คอยเชื่อม รากฟันเทียม เข้ากับ ครอบฟัน โดยเชื่อมกันด้วยสกรู และกาวยึดครอบฟัน
    หมุดยึดนี้ อาจมีหน้าตาหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ฝังรากเทียม หรือ ประเภทของฟันทดแทนที่ใส่ด้านบน
  3. ส่วนฟันทดแทน (Prosthetic part)
    ทั้งนี้ อาจจะเป็นได้ตั้งแต่ ฟันปลอม ครอบฟัน สะพานฟัน ขึ้นอยู่กับขนาดช่องว่างและฟันที่สูญเสียไป

ประเภทของรากฟันเทียม

รากฟันเทียม

1. Single tooth dental implant

คือการใส่รากฟันเทียม พร้อมทำครอบฟัน จำนวน 1 ซี่ ใช้ในกรณีสูญเสียฟันซี่เดียว หรือ หลายซี่และอยู่ตำแหน่งไม่ติดกัน

2. Multiple tooth dental implant

คือการใส่รากฟันเทียม เพื่อรองรับฟันมากกว่า 1 ซี่ เช่น การใส่รากฟันเทียม 2 ราก พร้อมใส่สะพานฟัน 3 ซี่

3. Full mouth dental implant

คือการใส่รากฟันเทียม เพื่อรองรับฟันทั้งหมดในขากรรไกร (มักจะเป็น 4 – 6 ราก ต่อขากรรไกร)

ขั้นตอนการใส่รากฟันเทียม

ครั้งที่ 1
ปรึกษาทันตแพทย์รากเทียม

ปรึกษาทันตแพทย์ที่ให้การรักษารากฟันเทียมเพื่อประเมินว่าตำแหน่งฟันที่หายไป สามารถใส่รากฟันเทียมได้หรือไม่ ข้อจำกัดในการรักษามีอะไรบ้าง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนไข้ได้หรือเปล่า

ครั้งที่ 2
เอกซเรย์มวลกระดูก

การเอกซเรย์มวลกระดูกเพื่อประเมินปริมาณกระดูก และ กำหนดตำแหน่งของรากฟันเทียม

ครั้งที่ 3
ใส่รากฟันเทียม

ทันตแพทย์จะใส่รากฟันเทียมให้คนไข้ตามแผนการรักษา และ อาจมีการปลูกกระดูกหรือยกไซนัสร่วมด้วยในบางเคส

ครั้งที่ 4
พิมพ์ปากเพื่อทำครอบฟัน

หลังจากที่รากฟันเทียมยึดกับกระดูกขากรรไกร (มักจะใช้เวลา 3-4 เดือนเป็นต้นไป) ทันตแพทย์จะเริ่มพิมพ์ฟัน เพื่อนำไปทำครอบฟัน

ครั้งที่ 5
ใส่ครอบฟัน

ทันตแพทย์จะลองครอบฟัน ดูขนาด ความสวยงามก่อนที่ทำการยึดกับรากฟันเทียม ในขั้นตอนนี้ท่านสามารถตรวจสอบสีฟัน หากสีฟัน หรือ รูปทรงฟันยังไม่เป็นที่เพียงพอใจ สามารถปรึกษาร่วมกับทันตแพทย์เพื่อแก้ไขได้

ท่านสามารถแจ้งทำนัดเพื่อปรึกษารากฟันเทียม
กับทางคลินิกได้ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยกดปุ่มติดต่อเราด้านขวาล่าง
หรือติดต่อ
สาขางามวงศ์วาน โทร 065-690-5640
สาขาเกษตร โทร 065-096-3254