ดูแลตนเองอย่างไร เมื่อต้องรักษารากฟัน?
เมื่อฟันเกิดความเสียหายได้แก่ การเกิดฟันผุ ฟันแตก ร้าว หรือ หัก ที่เข้าไปถึงชั้นในสุดคือ โพรงประสาทฟัน อาจส่งผลให้มีอาการอักเสบ ปวดฟัน เสียวฟัน หรือมีอาการบวมที่เหงือกในบริเวณฟันที่เสียหายนั้นๆ การรักษารากฟันคือการกำจัดเชื้อ หรือ สิ่งสกปรกที่อยู่ในโพรงประสาทฟันให้ฟันหายจากภาวะอักเสบ ปวด หรือ บวม
ฟันที่มีอาการโพรงประสาทฟันอักเสบ แตกต่างจาก ฟันปกติอย่างไร?
โพรงประสาทฟันประกอบด้วย เส้นประสาท และ เส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงฟันซี่นั้นๆ หากเกิดภาวะโพรงประสาทฟันอักเสบแล้ว
ฟันซี่ดังกล่าวอาจจะมีการละลายของกระดูกรอบปลายรากฟัน และ สูญเสียความแข็งแรงจากรอยผุ แตก
ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม หรือ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดฟันแตก และ หัก ตามมา นอกจากนั้นในภาวะอักเสบของโพรงประสาทฟันจะให้เกิด ฟันซี่นั้นๆ มีสีที่เปลี่ยนไปโดยมีลักษณะสีคล้ำขึึ้นจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง
การดูแลตนเองเมื่อต้องรักษารากฟัน
โดยสรุปแล้ว ฟันที่ต้องทำการรักษารากฟันจะมีลักษณะ เปราะแตกหักง่าย และ อาจมีอาการปวด บวมร่วมด้วย คำแนะนำในการดูแลตนเองมีดังนี้ การรักษารากฟันอาจต้องเข้ามาพบทันตแพทย์ 2-4 ครั้งโดนเว้นระยะ 1-2 สัปดาห์ คำแนะนำในการดูแลตนเองระหว่างการรักษารากฟันมีดังนี้
- หากมีอาการปวด สามาถรถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดให้ทุเลาลง ทัั้งนี้ ผู้รับการรักษาอาจมีอาการระคายเคืองจากการรักษาฟันร่วมด้วย โดยอาการควรทุเลาลงไปภายใน 3-4 วัน
- ควรระมัดระวังไม่ให้มีเศษอาหารเข้าไปติดบริเวณที่ทำการรักษารากฟัน
- ทันตแพทย์อาจใช้ยาชาร่วมในระหว่างการรักษารากฟัน โดยยาชามีระยะเวลาออกฤทธิ์ 2-3 ชั่วโมง ควรงดทานอาหารระหว่างที่ยังมีฤทธิ์ยาชาอยู่ เพื่อป้องกันการกัดลิ้น หรือ กระพุ้งแก้มตนเอง
- ทันตแแพทย์อาจพิจารณาอุดปิดเนื้อฟันชั่วคราวเพืื่อให้ภายในคลองรากฟันเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสิ่งสกปรกจากช่องปาก หรือ น้ำลาย
หากภายหลังยาชาหมดฤทธิ์ ถ้าหากรู้สึกกัดฟันแล้วกระแทก หรือ ค้ำ ให้กลับเข้ามาพบทันตแพทย์อีกครั้ง - งดใช้ฟันบริเวณที่ต้องรักษารากฟัน ในการบดเคี้ยวอาหารก่อน
- ควรทานอาหารที่มีลักษณะนิ่ม ควรงดเว้นอาหารที่มีลักษณะแข็ง หรือ เหนียวมากๆ เช่น กระดูก กระดูกอ่อน น้ำแข็ง
- ทำความสะอาดฟันที่ต้องรักษารากให้สะอาดเสมอ เพื่อป้องกันอาการอักเสบที่อาจมีมากขึ้นจากเศษอาหาร